adyim.com
  • หน้ากากพ่อทวดพรานบุญ รุ่นเสน่หารุมรัก

    หน้ากากพ่อทวดพรานบุญ มโนราห์ พิทักษ์ พรหมมวาส (หมอเอก) สร้างตามศาสตร์ไสยเวทย์ครูหมอโนราห์แบบโบราณ ประจุพลังครูพ่อทวดพรานบุญขลังนัก มีสองพิมพ์ให้เลือก เล็ก-ใหญ่ (พิมพ์ใหญ่ประมาณหัวแม่มือ พิมพ์เล็กย่อมลงมาหน่อย) พิเศษที่พิมพ์ใหญ่ บรรจุ โกเมน เสริมวาสนาบารมี ส่วนพิมพ์เล็ก ฝังตะกรุด เสน่หารุมรัก เป็นเมตตามหาเสน่ห์

  • สีผึ้งสาริกาคู่คืนรัง (พ่อกาแม่กามหาเสน่ห์)

    สีผึ้งสาริกาคู่คืนรัง(พ่อกาแม่กามหาเสน่ห์)ไม้กาฝากกาหลง ตำหรับมโนราห์ พิทักษ์ พรหมวาส (หมอเอก) ท่านจัดสร้างไว้นานแล้วและปลุกเสกมาโดยตลอด ทำพิธีลงหัวใจสาริกา ที่สีผึ้งสาริกาคืนรังนี้เองทุกคู่ พร้อมทั้งยังอัญเชิญ ทวดพรานบุญ มาในพิธี เพิ่มพลังให้เข้มขลังมายิ่งขึ้นสีผึ้งสาริกาคู่คืนรังนี้เด่นไปทางด้าน เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ค้าขาย เหมาะสำหรับพ่อค้าแม่ขาย นักร้อง นักแสดง ผู้ทำงานให้บริการต่าง ๆ เพราะเมื่อพกบูชาติดตัวแล้ว จะพูดจาสิ่งใดมีแต่คนเชื่อถือ คนรักใคร่ เป็นที่เมตตาต่อผู้พบเห็น

  • พญางั่งมหาอุลลุม

    พญางั่งมหาอุลลุม ปลุกเสกโดยมนต์เนื้อหอมนาคเรียกโขลง ซึ่งเป็นมนต์เสน่ห์เรียกผู้คนมาห้อมล้อม มโนราห์ พิทักษ์ พรหมมวาส ตั้งใจปลุกเสกให้เข้มขลังทรงพลังเต็มที่ ประจุมนต์ลงใน “พญางั่งมหาอุลลุม ” ให้มีพลังเสน่ห์แรงกล้า จะเป็นเสน่ห์เมตตากับคนทั่วไป แม้เพียงเห็นหน้าก็ให้ถูกชะตา ติดต่อการงานไม่มีพลาด ได้รับความช่วยเหลืออย่างคาดไม่ถึง มีแต่ผู้คนเอ็นดู พกติดตัวไปค้าขาย บอกราคาไปเถิดลูกค้าใจอ่อนซื้อไม่มีต่อรอง ค้าได้ขายดีมีกำไร พกติดตัวไปเที่ยวแหล่งใดเป็นเสน่ห์ดึงดูดเพศตรงข้ามหลงไหลวนเวียนไม่ห่าง พกติดตัวไปต่างแดนติดต่อเจรจาการใดไม่มีติดขัด ผู้คนรอบข้างเจ้านายลูกน้องให้ความร่วมมือดีทุกประการ เสน่ห์เมตตารุนแรงสมเป็นของดีชั้นครู

  • คุณพ่อปลัดหัวทอง ตำหรับทวดพรานบุญ

    คุณพ่อปลัดหัวทอง ทำมาจากไม้พยุง มโนราห์ พิทักษ์ พรหมมวาส (หมอเอก) ทำการปลุกเสกพลังพุทธาคมเข้มขลังเอกอุสมบูรณ์พร้อม ลงทองเองกับมือทุกตัว ประจุพลังครู ทวดพรานบุญ ขลังยิ่งนัก ใช้แขวนเอว จะช่วยให้เงินทองไหลมาเทมาไม่ขาดสาย เสริมดวง โชคลาภ กันผีสาง งูเงี้ยวเขี้ยวขอ เป็นของดีที่เด่นมาก ลองนำไปบูชาติดตัวกันดู จะรู้เองเห็นเองในความขลังของครูสายนี้

  • น้ำมันสาริกาคู่คืนรัง (พ่อกาแม่กามหาเสน่ห์)

    น้ำตาปลาพยูน น้ำมันเสน่ห์จันทร์ น้ำมันหอมพ่อทวดพรานบุญ แป้งเสกมโนราห์ ว่านสาวหลง ว่านดอกทอง แป้งแม่ศรีมาลา น้ำมันตะเกียงไหว้ครูหมอ ทั้งหมดเป็นมวลสารมหาเสน่ห์ ตำหรับมโนราห์ พิทักษ์ พรหมวาส (หมอเอก) สำหรับตัวนกสาริกาคู่ ทำมาจากไม้รักซ้อน เสกอาการ 32 เสกหัวใจเปิดปากนก ตานก ด้วยคาถา พระพุทธเจ้าเปิดโลก อัญเชิญพ่อทวดพรานบุญในพิธีปลุกเสกให้เข้มขลังเอกอุ ใช้พกติดตัวเป็นมหาเสน่ห์ น้ำมันใช้เจิมหน้าผากกับแตะลิ้นก่อนออกจากบ้าน ใช้เจรจาขอความรักให้กลับคืน เชื่อมั่นศรัทธา ไม่ลังเล ย่อมเกิดผล ตามดวงจิตปรารถนา

  • เหรียญสาริกาคู่คืนรัง (พ่อกาแม่กามหาเสน่ห์)

    เหรียญสาริกาคู่คืนรัง ตำหรับมโนราห์ พิทักษ์ พรหมวาส (หมอเอก) เสกอาการ 32 เสกหัวใจเปิดปากนก ตานก ด้วยคาถา พระพุทธเจ้าเปิดโลก อัญเชิญพ่อทวดพรานบุญในพิธีปลุกเสกให้เข้มขลังยิ่ง พุทธคุณสูงใช้ดีทาง เมตตามหานิยม-มหาเสน่ห์ มหาระลวย ใช้เจรจาขอความรักให้กลับคืน บันดาลโชคลาภ วาสนา เป็นที่รักชอบของผู้ที่ได้พบเห็น เจรจาพาทีไพเราะเสนาะหูจับจิตจับใจแก่ผู้ที่ได้ยินได้ฟังให้หลงใหลคล้อยตาม วัตถุมงคลของ หมอเอก ทุกชิ้นรับประกันความแท้ เชื่อมั่นศรัทธา ไม่ลังเล ย่อมเกิดผล ตามดวงจิตปรารถนา

มโนราห์ พิทักษ์ พรหมวาส (หมอเอก) จ.ยะลา

15 พ.ย. 2554

ละมัย ศรีรักษา”ครูสอนมโนราห์แห่งรั้ว ม.อ.รับรางวัลครูภูมิปัญญาไทยภาคใต้รุ่นที่ 7



          ครูละมัย ศรีรักษา ครูมโนราห์ประจำศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาไทยภาคใต้รุ่นที่ 7 ด้านศิลปกรรมการแสดงพื้นบ้านมโนราห์จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เข้ารับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2554 โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องค์มนตรีเป็นประธานมอบรางวัล 

         ครูละมัย ศรีรักษา เดิมมีอาชีพทำสวนควบคู่ไปกับการแสดงมโนราห์ตามสถานที่ต่างๆ กระทั่งได้มีโอกาสร่วมงานกับอาจารย์ยก ชูบัว ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงมโนราห์คนแรกของภาคใต้ ซึ่งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในขณะนั้น ครูละมัยจึงได้รับการชักชวนจากอาจารย์ยกให้เข้าทำงานเป็นครูสอนรำมโนราห์ที่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จากนั้นได้ย้ายเข้าทำงานที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปะ และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยทำหน้าที่สอนรำมโนราห์ แก่นักศึกษาและผู้สนใจ ตลอดจนบุตร หลาน ของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จวบจนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลากว่า 12 ปี 

         ที่ผ่านมานอกจากการเป็นครูสอนรำมโนราห์ประจำศูนย์ส่งเสริม ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ครูละมัยยังได้ทำหน้าที่เผยแพร่ศิลปะการรำมโนราห์ด้วยการสอนรำมโนราห์แก่ เด็กๆ ในชุมชน โดยใช้บ้านของตนเองเป็นสถานที่ฝึกสอน การเป็นครูพิเศษสอนรำมโนราห์ตามโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดสงขลา เช่น โรงเรียนวัดเลียบ โรงเรียนวัดท่าข้าม จนได้พบกับ ครูนครินทร์ ชาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-หนังตะลุง) ผู้เล็งเห็นถึงความสามารถและการอุทิศตนเพื่อดำรงไว้ซึ่งศิลปะการแสดงของภาค ใต้ จึงได้เสนอชื่อของครูละมัยเข้ารับรางวัลศิลปินดีเด่นประจำจังหวัดสงขลาและ รางวัลครูภูมิปัญญาไทย ทำให้ครูละมัยเป็นผู้ได้รับทั้งสองรางวัลอันทรงคุณค่าดังกล่าว 

         ครูละมัย ศรีรักษา หรือแม่ละมัยของเด็กๆ กล่าวว่า ศิลปินไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ใดต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง สิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัว จะต้องติดตามข่าวสารและเรียนรู้เรื่องที่คนทุกเพศทุกวัยสนใจ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านศิลปะการแสดงนั้นๆ ศิลปินที่มีบทบาทของการเป็นครูผู้สอนจะต้องให้ความรักความจริงใจแก่ลูกศิษย์ ซึ่งนอกจากการรำมโนราห์แล้ว สิ่งหนึ่งที่ตนพยายามปลูกฝังให้กับเด็กคือการพูดภาษาถิ่นใต้ โดยจะใช้ภาษาถิ่นใต้สื่อสารกับเด็กๆ เพื่อให้เด็กซึมซับและเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นใต้อย่างแท้จริง รางวัลครูภูมิปัญญาไทยที่ได้รับในครั้งนี้ถือเป็นความภาคภูมิใจของลูกศิษย์ ของตนทุกคน และเป็นกำลังใจสำคัญของตนที่จะถ่ายทอดศิลปะการแสดงมโนราห์ให้แก่เด็กๆ ต่อไป ตนทำงานด้านนี้ด้วยใจรักและไม่เคยคิดหวังผลตอบแทน และคิดเสมอว่าจะหยุดถ่ายทอดความรู้แก่เด็กๆ ก็ต่อเมื่อไม่มีกำลังจะขึ้นเวทีแล้วเท่านั้น ตนขอขอบพระคุณอาจารย์สุนทร นาคประดิษฐ์ ศิลปินดีเด่น จังหวัดสงขลา สาขาวรรณศิลป์ ที่ได้เขียนบทรำมโนราห์ให้แก่ตนรวมทั้งได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการเขียนบทรำ มโนราห์ให้แก่ตนด้วย และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่เปิดโอกาสให้ตนได้แสดงความสามารถและได้ถ่ายทอดศิลปะให้เยาวชนรุ่นหลังได้ สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นใต้ต่อไป 

     
        
          ครูภูมิปัญญาไทยคือบุคคลเจ้าของภูมิปัญญาหรือผู้นำภูมิปัญญา ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ จนเกิดผลสำเร็จ มีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถถ่ายทอด เผยแพร่ เชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละสาขานั้นๆ ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง สำหรับการสรรหาครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 7 ในปี 2554 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้เชิญครูภูมิปัญญาไทยรุ่นต่างๆ และผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกสาขามาเป็นผู้สรรหาผู้ทรงภูมิปัญญา ใน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ โดยมีผู้สนใจส่งเอกสารเพื่อเข้ารับการคัดเลือกจากทั่วประเทศ จำนวน 477 คน และมีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นครูภูมิปัญญา ไทย รุ่นที่ 7 จำนวนทั้งสิ้น 96 คน

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

Post & Comment

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม